วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ลูกไม้ 6 ไม้รำ


ลูกไม้ 6 ไม้
ไม้ตีที่ 1

ท่าคุมตีลูกไม้
 ท่าคุมตีลูกไม้เป็นท่ายืนเตรียมพร้อมก่อนที่จะฝึกหัดตีลูกไม้โดยยืน เท้าชิด หันหน้าเข้าหากัน มือจับกระบี่อยู่ทางขวา ปลายกระบี่พิงอยู่ที่ไหล่ขวา แขนเหยียดตึง โกร่งกระบี่อยู่ข้างหน้า แขนซ้ายอยู่ข้างลำตัว



จากท่าคุมตีลูกไม้ จังหวะที่ 1

ฝ่ายรุกก้าวเท้าขวาไปข้างหน้า พร้อมกับยกกระบี่ขึ้นตีลงทางไหล่ซ้าย ของฝ่ายรับ มือซ้ายยกขึ้นป้องระดับหู มือกำหลวมๆ
ฝ่ายรับถอยเท้าซ้าย พร้อมกับยกกระบี่ขึ้นรับทางไหล่ซ้าย ให้ปลาย กระบี่เฉียงเข้าหาลำตัว มือซ้ายกำหลวม ๆ ยกขึ้นข้างหลังทางซ้าย



จังหวะที่ 2

ฝ่ายรุก ก้าวเท้าซ้ายเข้าหาคู่ต่อสู้ พร้อมกับตวัดกระบี่ไปตีลงทางด้านไหล่ขวาของคู่ต่อสู้ มือซ้ายลดลงป้องอยู่ข้างหน้าลำตัว
ฝ่ายรับ ถอยเท้าขวาไปข้างหลัง พลิกกระบี่หมุนกลับไปทางขวาเพื่อรับการตีของฝ่ายรุก ให้ปลายกระบี่เฉียงเข้าหาตัวพร้อมกับลดแขนซ้ายลงป้องกันอยู่ข้างหน้า


ไม้ตีที่ 2
จากท่าคุมตีลูกไม้ จังหวะที่ 1

ฝ่ายรุกก้าวเท้าขวาไปข้างหน้า พร้อมกับยกกระบี่ขึ้นตีลงทางไหล่ซ้ายของฝ่ายรับมือซ้ายยกขึ้นป้องระดับหู มือกำหลวม ๆ
ฝ่ายรับถอยเท้าซ้าย พร้อมกับยกกระบี่ขึ้นรับทางไหล่ซ้ายให้ปลายกระบี่เฉียงเข้าหาลำตัว มือซ้ายกำหลวม ๆ ยกขึ้นข้างหลังทางซ้าย
จังหวะที่ 2

ฝ่ายรุก ก้าวเท้าซ้ายเข้าหาคู่ต่อสู้ พร้อมกับตวัดกระบี่ไปตี ลงทางด้านไหล่ขวาของคู่ต่อสู้ มือซ้ายลดลงป้องอยู่ข้างหน้าลำตัว
ฝ่ายรับ ถอยเท้าขวาไปข้างหลัง พลิกกระบี่หมุนกลับไปทางขวา เพื่อรับการตีของฝ่ายรุกให้ปลายกระบี่เฉียงเข้าหาตัวพร้อมกับ ลดแขนซ้ายลงป้องกันอยู่ข้างหน้า

จังหวะที่ 3


ฝ่ายรุก ก้าวเท้าขวาเข้าหาฝ่ายรับ พร้อมกับตวัดกระบี่ไปตีลงทางด้าน ขาซ้ายของฝ่ายรับ มือซ้ายยกขึ้น
ฝ่ายรับ ถอยเท้าซ้ายไปข้างหลัง พร้อมกับลดปลายกระบี่ลงไปรับการตีของฝ่ายรุกทางซ้าย มือซ้ายยกขึ้น



จังหวะที่ 4


ฝ่ายรุกก้าวเท้าซ้ายเข้าหาฝ่ายรับ พร้อมกับยกกระบี่ตวัดไปตีลง ทาง ขาขวาของฝ่ายรับ มือซ้ายลดลง
ฝ่ายรับถอยเท้าขวาไปข้างหลัง พร้อมกับพลิกกระบี่กลับไปรับทางขวามือซ้ายลดลง




ไม้ตีที่ 3
จากท่าคุมตีลูกไม้ จังหวะที่ 1

ฝ่ายรุกก้าวเท้าขวาไปข้างหน้า พร้อมกับยกกระบี่ขึ้นตีลงทางไหล่ ซ้ายของฝ่ายรับ มือซ้ายยกขึ้นป้องระดับหูมือกำหลวมๆ

ฝ่ายรับถอยเท้าซ้าย พร้อมกับยกกระบี่ขึ้นรับทางไหล่ซ้าย ให้ปลาย กระบี่เฉียงเข้าหาลำตัว มือซ้ายกำหลวม ๆ ยกขึ้นข้างหลังทางซ้าย
จังหวะที่ 2


ฝ่ายรุก ก้าวเท้าซ้ายเข้าหาคู่ต่อสู้ พร้อมกับตวัดกระบี่ไปตีลงทางด้าน ไหล่ขวาของคู่ต่อสู้ มือซ้ายลดลงป้องอยู่ข้างหน้าลำตัว

ฝ่ายรับ ถอยเท้าขวาไปข้างหลัง พลิกกระบี่หมุนกลับไปทางขวาเพื่อรับการตีของฝ่ายรุก ให้ปลายกระบี่เฉียงเข้าหาตัวพร้อมกับลดแขนซ้าย ลงป้องกันอยู่ข้างหน้า

จังหวะที่ 3


ฝ่ายรุก ก้าวเท้าขวาเข้าหาฝ่ายรับ พร้อมกับตวัดกระบี่ไปตีลงทางด้าน ขาซ้ายของฝ่ายรับ มือซ้ายยกขึ้น
ฝ่ายรับ ถอยเท้าซ้ายไปข้างหลัง พร้อมกับลดปลายกระบี่ลงไปรับการตี ของฝ่ายรุกทางซ้าย มือซ้ายยกขึ้น



จังหวะที่ 4


ฝ่ายรุก ยกเท้าขวาเหวี่ยงขึ้นไปทางซ้าย หมุนตัวไปทางซ้าย พร้อมกับยกกระบี่ตวัดไปตีลงทางขวาของคู่ต่อสู้ มือซ้ายลดลง
ฝ่ายรับ ยกเท้าขวาเหวี่ยงขึ้นไปทางซ้าย หมุนตัวไปทางซ้าย พร้อมกับพลิกกระบี่ไปรับการตีของฝ่ายรุก มือซ้ายลดลง




ไม้ตีที่ 4
จากท่าคุมตีลูกไม้ จังหวะที่ 1

ฝ่ายรุกก้าวเท้าขวาไปข้างหน้า พร้อมกับยกกระบี่ขึ้นตีลงทางไหล่ซ้ายของฝ่ายรับ มือซ้ายยกขึ้นป้องระดับหู มือกำหลวม ๆ
ฝ่ายรับถอยเท้าซ้าย พร้อมกับยกกระบี่ขึ้นรับทางไหล่ซ้าย ให้ปลาย กระบี่เฉียงเข้าหาลำตัว มือซ้ายกำหลวม ๆ ยกขึ้นข้างหลังทางซ้าย

 จังหวะที่ 2


ฝ่ายรุก ก้าวเท้าซ้ายเข้าหาคู่ต่อสู้ พร้อมกับตวัดกระบี่ไปตีลงทางด้าน ไหล่ขวาของคู่ต่อสู้ มือซ้ายลดลงป้องอยู่ข้างหน้าลำตัว

ฝ่ายรับ ถอยเท้าขวาไปข้างหลัง พลิกกระบี่หมุนกลับไปทางขวา เพื่อรับการตีของฝ่ายรุก ให้ปลายกระบี่เฉียงเข้าหาตัวพร้อมกับลดแขน ซ้ายลงป้องกันอยู่ข้างหน้า
จังหวะที่ 3

ฝ่ายรุก ก้าวเท้าขวาไปข้างหน้า พร้อมกับตวัดกระบี่กลับไปตีตัดลำตัว ทางซ้ายของคู่ต่อสู้ มือซ้ายกำหลวม ๆยกขึ้นข้างหลัง
ฝ่ายรับ ลดกระบี่ลงมารับทางซ้ายของลำตัว มือซ้ายจับส่วนปลายของ กระบี่ หันฝ่ามือออกข้างนอก กระบี่ตั้งตรงและถอยเท้าซ้ายไปข้างหลัง



จังหวะที่ 4

ฝ่ายรุกก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า พร้อมกับตวัดกระบี่กลับไปตีตัดลำตัว ทางขวาของคู่ต่อสู้
ฝ่ายรับพลิกกระบี่ ไปรับทางขวา มือขวาอยู่บน พร้อมกับถอยเท้าขวา ไปข้างหลัง



ไม้ตีที่ 5
จากท่าคุมตีลูกไม้ จังหวะที่ 1
ฝ่ายรุกก้าวเท้าขวาไปข้างหน้า พร้อมกับยกกระบี่ขึ้นตีลงทางไหล่ซ้ายของฝ่ายรับ มือซ้ายยกขึ้นป้องระดับหู มือกำหลวม ๆ
ฝ่ายรับถอยเท้าซ้าย พร้อมกับยกกระบี่ขึ้นรับทางไหล่ซ้าย ให้ปลายกระบี่เฉียงเข้าหาลำตัว มือซ้ายกำหลวม ๆ ยกขึ้นข้างหลังทางซ้าย
 จังหวะที่ 2

ฝ่ายรุก ก้าวเท้าซ้ายเข้าหาคู่ต่อสู้ พร้อมกับตวัดกระบี่ไปตีลงทางด้าน ไหล่ขวาของคู่ต่อสู้ มือซ้ายลดลงป้องอยู่ข้างหน้าลำตัว
ฝ่ายรับ ถอยเท้าขวาไปข้างหลัง พลิกกระบี่หมุนกลับไปทางขวา เพื่อรับการตีของฝ่ายรุก ให้ปลายกระบี่เฉียงเข้าหาตัวพร้อมกับลดแขนซ้ายลงป้องกันอยู่ข้างหน้า


จังหวะที่ 3

ฝ่ายรุก ก้าวเท้าขวาไปข้างหน้า พร้อมกับตวัดกระบี่กลับไปตีตัดลำตัว ทางซ้ายของคู่ต่อสู้ มือซ้ายกำหลวม ๆ ยกขึ้นข้างหลัง
ฝ่ายรับ ลดกระบี่ลงมารับทางซ้ายของลำตัว มือซ้ายจับส่วนปลายของ กระบี่ หันฝ่ามือออกข้างนอก กระบี่ตั้งตรงและถอยเท้าซ้ายไปข้างหลัง




จังหวะที่ 4

ฝ่ายรุกก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า พร้อมกับตวัดกระบี่กลับไปตีตัดลำตัวทางขวาของคู่ต่อสู้
ฝ่ายรับพลิกกระบี่ ไปรับทางขวา มือขวาอยู่บน พร้อมกับถอยเท้าขวาไปข้างหลัง



จังหวะที่ 5

ฝ่ายรุก ก้าวเท้าขวาไปข้างหน้า พร้อมกับยกกระบี่ตีลงตรงศีรษะของ ฝ่ายรับ มือซ้ายยกขึ้นด้านหลัง
ฝ่ายรับ ถอยเท้าซ้ายไปข้างหลัง พร้อมกับยกกระบี่ขึ้นรับเหนือศีรษะ มือซ้ายจับด้านปลายกระบี่ ให้กระบี่ขนานพื้น


ไม้ตีที่ 6
จากท่าคุมตีลูกไม้ จังหวะที่ 1

ฝ่ายรุกก้าวเท้าขวาไปข้างหน้า พร้อมกับยกกระบี่ขึ้นตีลงทางไหล่ซ้ายของฝ่ายรับ มือซ้ายยกขึ้นป้องระดับหู มือกำหลวม ๆ
ฝ่ายรับถอยเท้าซ้าย พร้อมกับยกกระบี่ขึ้นรับทางไหล่ซ้ายให้ปลายกระบี่เฉียงเข้าหาลำตัว มือซ้ายกำหลวม ๆ ยกขึ้นข้างหลังทางซ้าย
 จังหวะที่ 2

ฝ่ายรุก ก้าวเท้าซ้ายเข้าหาคู่ต่อสู้ พร้อมกับตวัดกระบี่ไปตีลงทางด้าน ไหล่ขวาของคู่ต่อสู้ มือซ้ายลดลงป้องอยู่ข้างหน้าลำตัว
ฝ่ายรับ ถอยเท้าขวาไปข้างหลัง พลิกกระบี่หมุนกลับไปทางขวาเพื่อรับการตีของฝ่ายรุก ให้ปลายกระบี่เฉียงเข้าหาตัวพร้อมกับลดแขนซ้ายลง ป้องกันอยู่ข้างหน้า

จังหวะที่ 3

ฝ่ายรุก ก้าวเท้าขวาไปข้างหน้า พร้อมกับตวัดกระบี่กลับไปตีตัดลำตัว ทางซ้ายของคู่ต่อสู้ มือซ้ายกำหลวม ๆ ยกขึ้นข้างหลัง
ฝ่ายรับ ลดกระบี่ลงมารับทางซ้ายของลำตัว มือซ้ายจับส่วนปลายของ กระบี่ หันฝ่ามือออกข้างนอก กระบี่ตั้งตรงและถอยเท้าซ้ายไปข้างหลัง



จังหวะที่ 4

ฝ่ายรุกก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า พร้อมกับตวัดกระบี่กลับไปตีตัดลำตัว ทางขวาของคู่ต่อสู้
ฝ่ายรับพลิกกระบี่ ไปรับทางขวา มือขวาอยู่บนพร้อมกับถอยเท้าขวา ไปข้างหลัง



จังหวะที่ 5

ฝ่ายรุก ก้าวเท้าขวาไปข้างหน้า พร้อมกับยกกระบี่ตีลงตรงศีรษะของฝ่ายรับ มือซ้ายยกขึ้นข้างหลัง
ฝ่ายรับ ถอยเท้าซ้ายไปข้างหลัง พร้อมกับยกกระบี่ขึ้นรับเหนือศีรษะ มือซ้ายจับด้านปลายกระบี่ ให้กระบี่ขนานพื้น


จังหวะที่ 6

ฝ่ายรุก ก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า พร้อมกับยกโกร่งกระบี่ขึ้น ให้ปลาย กระบี่ชี้ไปข้างหลัง ใช้โคนกระบี่กระแทกลงไปที่หน้าของฝ่ายรับมือ ซ้ายลดลง
ฝ่ายรับ ถอยเท้าขวาไปข้างหลัง ยกกระบี่ขึ้นเหมือนจังหวะที่ 5 ใช้ตัวกระบี่รับโคนกระบี่ของฝ่ายรุก แล้วดันขึ้น

กติกาของกระบี่กระบอง


การเล่นกระบี่กระบองแต่ละครั้งนั้นมีแบบแผนการเล่นที่กำหนดไว้  ดังนี้

1. การถวายบังคม

        ในสมัยโบราณการแสดงการต่อสู้มักกระทำต่อหน้าที่ประทับ ผู้แสดงจึงต้องมีการถวายบังคมซึ่งเป็นการแสดงความเคารพต่อพระเจ้าแผ่นดินด้วย  และต่อมาได้เป็นการปฏิบัติเพื่อแสดงความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์และผู้มีพระคุณ การถวายบังคมนี้จะกระทำ 3 ครั้ง แต่ละครั้งมีความหมายดังนี้

         ครั้งที่ 1 หมายถึง การแสดงความเคารพต่อหลักธรรมคำสั่งสอนขององค์พระศาสดา
         ครั้งที่ 2 หมายถึง การแสดงความเคารพต่อองค์พระประมุขของชาติ
         ครั้งที่ 3 หมายถึง การแสดงความเคารพต่อบิดา มารดา ผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาการและผู้มีพระคุณ





2. การขึ้นพรหม ประกอบด้วย การขึ้นพรหมนั่ง และการขึ้นพรหมยืน

         2.1 การขึ้นพรหมนั่ง ได้แก่ การนั่งร่ายรำแต่ละทิศจนครบ 4 ทิศ แล้วจึงกลับหลังหันลุกขึ้นยืน
         2.2 การขึ้นพรหมยืน เป็นการยืนรำแต่ละทิศจนครบทั้ง 4 ทิศ และจบลงด้วยการเตรียมพร้อมจะปฏิบัติในขั้นตอนต่อไป

         การขึ้นพรหมนี้ ถ้าฝ่ายหนึ่งขึ้นพรหมนั่งอีกฝ่ายจะขึ้นพรหมยืน นอกจากเป็นการสร้างกำลังใจและคุ้มครองในการต่อสู้แล้ว การขึ้นพรหมนี้ นาค เทพหัสดิน ณ อยุธยา ได้บันทึกไว้ว่า  เป็นการสอนให้ผู้เรียนระลึกถึงธรรมของการอยู่ร่วมกันในสังคม ได้แก่ พรหมวิหารสี่

3. การรำเพลงอาวุธ

         ผู้แสดงที่เล่นอาวุธใดจะเลือกรำเพลงตามอาวุธที่ตนใช้  โดยเลือกท่ารำจากท่ารำทั้งหมดในอาวุธนั้นตามความเหมาะสมหรือความชำนาญของผู้เล่นประมาณ 1 ท่า การรำเพลงอาวุธนี้มีมานานแต่สมัยโบราณ และมีประโยชน์ต่อผู้เล่น

4. การเดินแปลง

         เป็นลักษณะของการเดินที่พร้อมจะเข้าสู่ท่าต่อสู้ การเดินจะเดินไปจนสุดสนามแล้วกลับมาที่เดิมขณะที่อยู่ในระยะใกล้ที่จะสวนกันให้ต่างหลีกไปทางซ้ายเพียงเล็กน้อย โดยอาวุธอาจจะถูกหรือระกันเล็กน้อยได้  การเดินแปลงเป็นการที่ทั้งสองฝ่ายต่างจ้องดูเล่ห์เหลี่ยมของกันและกัน เป็นการอ่านใจกันและคุมเชิงกันในทีก่อนจะเข้าต่อสู้

5. การต่อสู้

         จะเป็นการใช้ท่าทางการต่อสู้ที่ได้ฝึกมาทั้งหมดในสถานการณ์จริง การต่อสู้นี้จะใช้อาวุธของการต่อสู้ที่เรียกว่า "เครื่องไม้ตี" มีลักษณะเช่นเดียวกับเครื่องไม้รำแต่ไม่ได้ตกแต่งให้สวยงาม

6. การขอขมา

         เป็นการไหว้กันและกันระหว่างผู้เล่นทั้งสองฝ่ายหลังจบการแสดงแต่ละอาวุธ เป็นการขอโทษต่อการแสดงที่ผิดพลั้งต่อกัน เป็นระเบียบที่กำหนดขึ้นในภายหลังจากสมัยท่านอาจารย์นาค เทพหัสดิน ณ อยุธยา

         การแสดงกระบี่กระบองมีธรรมเนียมดีอีกอย่างหนึ่งคือ จะต้องมีดนตรีประกอบซึ่งจะมีปี่ชวา กลองแขกตัวผู้ (เสียงสูง) ตัวเมีย (เสียงต่ำ) และฉิ่งจับจังหวะ เพราะไทยเป็นชาติรักดนตรีการเล่นหรือแสดงเฉย ๆ จะรู้สึกเงียบเหงา ขาดรสชาติหาความสนุกสนานได้ยาก นอกจากดนตรีจะช่วยให้เกิดความสนุกสนานครึกครื้น แล้วยังช่วยให้ผู้เล่นเกิดความฮึกเหิมมีกำลังใจในการต่อสู้ โดยเฉพาะเสียงกลองจะเป็นเหมือนเสียงหนุนหรือยุให้ผู้เล่นคิดจะสู้เรื่อย ๆ ไปโดยไม่คิดจะถอย มีแต่จะบุกติดตามเข้าไปด้วยความทรหดอดทน อีกประการหนึ่ง ในการแข่งขันต้องมีการรำอาวุธก่อนต่อสู้ ซึ่งถือว่าเป็นการดูเชิงและเป็นการทำให้กล้ามเนื้อตื่นตัวลดความตื่นเต้น ถ้าไม่มีเสียงดนตรีแล้วจะรำได้อย่างไร




เครื่องกระบี่กระบอง




         เครื่องกระบี่กระบอง มีอยู่ 2 ชนิด คือ เครื่องไม้รำ กับเครื่องไม้ตี โดยทั้ง 2 ชนิดนี้เป็นอาวุธจำลอง ส่วนมากทำมาจากหวาย มีความเหนียวและเบามือ  เครื่องไม้รำนั้นลงรักปิดทองประดับกระจกอย่างสวยงาม ส่วนเครื่องไม้ตีไม่ได้ตกแต่งอะไร

         - กระบี่ เครื่องไม้รำทำด้วยหวายหรือเอ็นสัตว์ถักเป็นปลอก สวมแกนโลหะที่ยาวตลอดลงไปถึงด้ามด้วย ตอนปลายเป็นหวายหรือเอ็นถึกคล้ายหางกระเบน  มักจะลงรักให้แข็ง บางทีทาสีแดงตลอด ด้ามมีโกร่งกันมือ  ส่วนเครื่องไม้ตีนั้นทำอย่างเดียวกันแต่ไม่ตกแต่งอะไร

         - กระบองหรือพลอง เครื่องไม้รำทำด้วยหวายหรือไม้จริงลงรักปิดทอง เขียนลายรดน้ำหรือทาสีแดงตลอด ไม่มีโลหะประกอบอยู่ด้วยเลย บางทีก็ประดับกระจกอย่างกระบองของเจ้าเงาะในละครรำ ส่วนเครื่องไม้ตีทำด้วยไม้รากไทรหรือหวายขนาดใหญ่ ลงรักดำหรือทาสีแดงตลอด ตอนปลายทั้งสองข้างใช้เชือกขนาดเล็กพันไว้

         - ดาบ  เช่นเดียวกับกระบี่ แต่ไม่มีโกร่งกันมือ เครื่องไม้รำทำสวยงามมากดูคล้ายมีฝักอยู่ด้วย ส่วนเครื่องไม้ตีทำด้วยหวายเพื่อให้สามารถตีได้ไม่หัก การใช้ดาบนั้น มีทั้งดาบเดี่ยว ดาบคู่ ดาบกับดั้ง ดาบกับเขน ดาบกับโล่ แล้วแต่จะกำหนด

         - ง้าว  เครื่องไม้รำประดิษฐ์ตกแต่งสวยงามมาก ทำด้วยไม้จริง มีลักษณะใกล้เคียงกับง้าวของจริงมาก ส่วนเครื่องไม้ตีทำด้วยหวาย ไม่มีการตกแต่งอย่างใด

         - ดั้ง เป็นเครื่องป้องกันอาวุธชนิดหนึ่ง นิยมเล่นคู่กับดาบ ซึ่งใช้สำหรับป้องกันอาวุธของศัตรูเป็นรูปสี่เหลี่ยมยาว ๆ โค้ง ๆ คล้ายกาบกล้วย กว้างประมาณ 15 เซนติเมตร ยาวประมาณ 100 เซนติเมตร ทำด้วยหนังหรือหวายหรือไม้ปะปนกัน

         - โล่ เป็นเครื่องป้องกันอาวุธเช่นเดียวกับดั้งหรือเขนนิยมนำมาเล่นคู่กับดาบ แตกต่างกันที่รูปร่างเท่านั้น คือ เป็นรูปวงกลม นูนตรงกลางทำด้วยหนังดิบ หวายสาน หรือโลหะ

         - ไม้ศอกหรือไม่สั้น นับว่าเป็นเครื่องกระบี่กระบองชนิดหนึ่ง มีรูปร่างลักษณะคล้ายกระดูกท่อนแขน เป็นท้อนไม้รูปสี่เหลี่ยมยาวประมาณ 45 เซนติเมตร กว้างและสูงประมาณ 7 เซนติเมตร








การแต่งกายกีฬากระบี่กระบอง



         เครื่องแต่งกายนั้นขึ้นอยู่กับความนิยม สมัยโบราณแต่งกายอย่างทหาร หรือนุ่งโจงกระเบนแบบหยักรั้ง คาดผ้าประเจียด ตะกรุด หรือนุ่งกางเกงขาสั้น แต่ที่สำคัญคือ นักกระบี่กระบองจะต้องสวมมงคลที่ทำด้วยด้ายดิบพันเป็นเกลียว มีขนาดใหญ่เท่าเชือกมนิลา ใช้ผ้าเย็บหุ้มอีกชั้นหนึ่ง ปล่อยปลายทั้งสองยื่นออก

        การคิดคะแนน แบ่งเป็น 4 ประเภท ดังนี้คือ

1. ประเภทเครื่องแต่งกาย (4 คะแนน)

         - แต่งแบบนักรบไทโบราณสมัยต่าง ๆ

         - แต่งแบบชาวบ้าน ทั้งโบราณและปัจจุบัน เช่น นุ่งกางเกงส่วนนุ่งผ้าโจงกระเบนด้วยผ้าพื้นหรือผ้าลาย ใส่เสื้อคอกลม แขนสั้น หรือแขนทรงกระบอก คาดผ้าตะเบงมาน ใส่ชุดม่อฮ่อม หรือกางเกงยาว เสื้อคอกลมแขนสั้น ผ้าขาวม้าคาดเอว

         - แต่งแบบกีฬานิยม เช่น นุ่งกางเกงขาสั้น หรือขายาว ใส่เสื้อทีมหรือเสื้อธรรมดาแขนสั้นหรือยาว มีผ้าคาดเอวหรือไม่มีก็ได้ รองเท้าผ้าใบ และใส่ถุงเท้า

         การแต่งกายทั้ง 3 ข้อ ข้างต้นต้องแต่งให้เหมือนกันทั้งคู่ นอกจากเรื่องสีแล้ว ต้องดูเรื่องความสะอาด เรียบร้อย รวมทั้งต้องสวมมงคล ทุกครั้งที่ออกแสดง

2. ประเภทรำ (10 คะแนน)

         - การถวายบังคม

         - การรำพรหมนั่ง หรือ พรหมยืน

         - ลีลาการรำ กำหนดให้ผู้เข้าแข่งขัน รำเพียงเที่ยวเดียว ไม่ต่ำกว่า 2 ท่า และมีลีลาการรำที่เข้ากับจังหวะดนตรีและสวมบทบาทของการรำ เช่น ท่านาง ท่าลิง ซึ่งมีท่ารำอื่น ๆ อีก 12 ท่า คือ ท่าลอยชาย ท่าทัดหูหรือควงทัดหู ท่าเหน็บข้าง ท่าตั้งศอก ท่าจ้วงหน้าจ้างหลัง ท่าควงป้องหน้า ท่ายักษ์ ท่าสอยดาว ท่าควงแตะ ท่าแหวกม่าน ท่าลดล่อ และท่าเชิงเทียน

3. ประเภท การเดินแปลง (6 คะแนน)

         เมื่อรำจบแล้วนั่งลง ก่อนออกเดินแปลง ผู้เข้าแข่งขันไม่ต้องถวายบังคม เพียงแต่แต่ไหว้น้อมรำลึกถึงครู อาจารย์ครั้งเดียว แล้วเริ่มรำพรหม หรือจะไม่รำก็ได้แล้วออกเดินแปลงเพียงเที่ยวเดียว

4. ประเภท การต่อสู้ (20 คะแนน)

         การต่อสู้ของแต่ละคู่ จะต้องมีเหตุผลสมจริง และถูกต้องตามหลักวิชาการต่อสู้ป้องกันตัว และไม่เป็นการอนาจาร

กำหนดเวลาการแข่งขันกีฬากระบี่กระบอง

         การแข่งขันตั้งแต่ประเภท 2, 3 และ 4 กำหนดให้ใช้เวลาในการแข่งขันคู่ละ 7 นาที เมื่อนักกีฬาแสดงครบเวลา 6 นาที กรรมการจะกดกริ่งเตือน 1 ครั้ง เมื่อนักกีฬาแสดงต่อไปต่อไปจนครบเวลา 7 นาที กรรมการจะประกาศให้ทราบว่าหมดเวลาแล้ว แต่ถ้านักกีฬาแสดงเกินกำหนดเวลา 7 นาที กรรมการจะตัดคะแนนคู่นั้น 2 คะแนน จากคะแนนรวมในการตัดสิน

กรรมการผู้ตัดสินกีฬากระบี่กระบอง

         ให้ใช้กรรมการผู้ตัดสิน โดยผู้ทรงคุณวุฒิคราวละ 5 ท่าน จากสมาคมกีฬาไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยมีคะแนนตัดสินท่านละ 40 คะแนน

การให้คะแนน แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ

         - การแต่งกาย 4 คะแนน

         - การรำ 10 คะแนน

         - การเดินแปลง 6 คะแนน

         - การต่อสู้ 20 คะแนน

         รวม 40 คะแนน

         ให้นำคะแนนจากกรรมการผู้ตัดสินทั้ง 5 ท่าน มาตัดสินคะแนนที่ให้สูงที่สุด และตัดคะแนนต่ำที่สุดออก รวมคะแนนที่เหลือแล้วหารด้วย 3 ผลลัพธ์ที่ได้เป็นคะแนนของนักกีฬาคู่นั้นเมื่อเรียงลำดับแล้ว คู่ใดมีคะแนนมากที่สุดเป็นผู้ชนะ และรองลงมาตามลำดับคะแนน ในกรณีที่มีคะแนนเท่ากัน ให้พิจารณาดังนี้

         1. ให้ดูเฉพาะคะแนนการต่อสู้ ถ้าฝ่ายใดมีคะแนนสูงกว่าให้เป็นผู้ชนะ

         2. ถ้าคะแนนการต่อสู้ยังเท่ากันอยู่ ให้ดูคะแนนการรำถ้าฝ่ายใดมีคะแนนสูงกว่าให้เป็นผู้ชนะ

         3. ถ้าคะแนนการรำยังเท่ากันอยู่ให้ดูเฉพาะคะแนนการเดินแปลง ถ้าฝ่ายใดมีคะแนนสูงกว่าให้เป็นผู้ชนะ

         4. ถ้าคะแนนยังเท่ากันอีก ให้ครองตำแหน่งร่วมกัน และให้เลื่อนคะแนนรองขึ้นมาเรียงลำดับ 1 หรือ 2 หรือ 3 ต่อไป

คะแนนรวมของทีม

         ให้นำผลการแข่งขันของนักกีฬาภายในทีมที่ชนะ ที่ 1-2-3 ในแต่ละชนิดอาวุธมารวมกัน โดยคิดคะแนนดังนี้    

         - ชนะเลิศ ได้ 5 คะแนน

         - รองชนะเลิศอันดับ 1 ได้ 3 คะแนน

         - รองชนะเลิศอันดับ 2 ได้ 1 คะแนน

         ทีมใดมีคะแนนรวมมากที่สุด เป็นทีมที่ชนะ